ข้าวสาร คือข้าวเปลือกที่ผ่านกระบวนการขัดสีเปลือกสีเหลืองจนหมด ออกมาเป็นข้าวสีขาวๆ เรียกว่า ข้าวสาร ปกติแล้วจะแบ่งออกหลักๆ เป็น 3 ประเภท คือ
1. ข้าวเจ้า หรือ ข้าวขาว เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองของไทย ปลูกกันทั่วไป ชอบนาดอน เม็ดจะมีลักษณะเป็นเม็ดขาว ผอม ยาว ซึ่งฝรั่งมักจะเรียกว่า long-grain white rice ชื่อพันธุ์จะเป็นไปตามแหล่งเพาะปลูก เช่น ข้าวตาแห้ง ข้าวเสาไห้ ข้าวปทุมธานี 1 ข้าวชัยนาถ 1 ข้าวพิษณุโลก เป็นต้น ราคาไม่แพงมาก หากเป็นข้าวทางภาคกลางมักปลูกทั้งนาปีและนาปรัง ออกผลผลิตรวม 2-3 ครั้งต่อปี เป็นข้าวที่ส่งออกมากที่สุด
2. ข้าวหอมมะลิ เป็นข้าวที่เป็นความภูมิใจของคนไทย เพราะเป็นข้าวที่ขึ้นชื่อว่าอร่อยที่สุดในโลก ข้าวหอมมะลิแท้จะเป็นข้าวพันธุ์ กข. 105 ซึ่ง นิยมปลูกในภาคอีสาน บริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ ปัจจุบันสามารถปลูกได้ทั่วไป แต่ข้าวหอมมะลิที่ขึ้นชื่อ เมล็ดสวย หุงแล้วมีหางเหนียว หอมออกกล่นมะลิ มักจะมาจากทางภาคอีสานบริเวณจังหวัด ยโสธร ร้อยเอ็ด สุรินทร์ และมาจากภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่เชียงราย ข้าวหอมมะลิจะปลูกได้เพียงปีละครั้ง (นาปี) เท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีข้าวอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า ข้าวหอมปทุม ที่คนมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นข้าวหอมมะลิ จริงๆ แล้วข้าวหอมปทุม คือข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี แต่เป็นข้าวเจ้าที่มีลักษณะคล้ายข้าวหอมมะลิ 105 มาก เพียงแค่มีความนุ่มน้อยกว่าและกลิ่นหอมน้อยกว่า แต่เป็นข้าวที่มีผลผลิตสูง ปลูกได้หลายครั้งต่อปี จึงทำให้มีราคาถูกและมีราคาที่ต่ำกว่าข้าวหอมมะลิแท้
3. ข้าวเหนียว เป็นข้าวอีกกลุ่มซึ่งมีลักษณะยางข้าวที่เหนียวติดกัน เป็นข้าวที่คนอีสานนิยมทานเป็นอาหารหลัก เช่นทานกับส้มตำ ไก่ย่าง เป็นต้น ในประเทศไทย ข้าวเหนียวจะนิยมปลูกที่บริเวณภาคอีกสานตอนบน มักเป็นพันธุ์ กข.6 เช่น อุดรธานี สกลนคร และทางภาคเหนือ เช่น ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ มักเรียกข้าวเหนียวสันป่าตองเหนือ
นอกนั้นก็จะเป็นข้าวชนิดพิเศษ อย่างเช่น ข้าวกล้องก็คือข้าวที่ขัดเปลือกออกไม่หมด หรือเป็นข้าวพันธุ์ที่พิเศษ มีการปลูกน้อยและไม่เป็นสีขาว มักใช้ทานเป็นข้าวเป็นสุขภาพ เพราะมีใยอาหารสูง เช่น ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวหอมมะลินิล ข้าวหอมมะลิแดงมันปู ข้าวเหนียวดำ เป็นต้น
นาปี คือ คือช่วงฤดูปลูกข้าว ก็คือหน้าฝนของไทย ชาวนาจะเพาะกล้าของต้นข้าวประมาณเดือน พฤษภาคมถึงมิถุนายน เพราะเป็นช่วงที่ฝนเริ่มต้นชุกพอดี ทำให้นาข้าวได้รับปริมาณน้ำเพียงพอ เมื่อผลผลิตออกมาในช่วงเดือนตุลาคมถึง ธันวาคม ไม่เกินกุมภาพันธ์ ก็จะทำให้ได้ข้าวนาปีที่สวย เมล็ดข้าวอิ่มน้ำ หุงอร่อย
ในขณะที่นาปรัง คือการปลูกข้าวนอกฤดูทำนา ข้าวนาปรังจะปลูกได้แค่ข้าวเจ้าบริเวณภาคกลาง เพราะมีระบบชลประทานที่ดี มีน้ำใช้ในนาตลอดปี และข้าวเหนียวได้บางแห่งเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่ ข้าวนาปรังมักมีคุณภาพด้อยลงกว่าข้าวนาปีเนื่องจากไม่ได้รับน้ำในปริมาณที่เยอะพอ ทำให้ข้าวไม่อิ่มน้ำเต็มที่ แต่ก็มีราคาถูกกว่าข้าวนาปี
อายุของข้าวสารก็มีลักษณะเหมือนๆ กับสินค้าเกษตรอื่นๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา โดยปกติข้าวที่เพิ่งผ่านการเก็บเกี่ยวมาและนำมาสีเลยจะเรียกว่า ข้าวใหม่ จะมีสีขาวสวย นิ่ม และมีกลิ่นหอม แต่หากปล่อยไว้นานขึ้นเรื่อยๆ ข้าวจะแข็งขึ้น มีสีออกเหลืองมากขึ้น และมียางข้าวลดน้อยลงตามกาลเวลา แต่อย่างไรก็ตามข้าวสารสามารถเก็บไว้ในที่แห้งได้นานเป็นปีๆ หากไม่โดนความชื้นมาก (หากโดนฝนจะเป็นเชื้อรา) และโดนหนูหรือมอดกิน
อายุของข้าวก็มีผลต่อการเลือกซื้อของลูกค้าเช่นกัน คนอีสานส่วนใหญ่จะชอบทานข้าวเก่า ประมาณ 7-8 เดือนถึง 1 ปีขึ้นไป เพราะข้าวจะออกแข็ง หุงขึ้นหม้อ ได้ปริมาณเยอะ เป็นเม็ดๆ ไม่ติดกัน ข้าวเก่าจะเป็นที่นิยมของร้านข้าวมันไก่ ร้านข้าวแกง หรือข้าวขาหมู ส่วนข้าวใหม่จะมีสีที่ขาวนวล มีความหอม เหนียวนุ่มเพราะยังมียางของข้าวอยู่ แต่ในขณะเดียวกันข้าวที่หุงแล้วอาจจะแฉะ อาจจะต้องใช้ปริมาณน้ำในการหุงที่น้อยลง ซึ่งสูตรปริมาณน้ำกับข้าวในการหุงก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคและความชอบของแต่ละคน ด้วยเหตุผลข้างต้น ทำให้ข้าวเก่าในภาคอีสานมักจะมีราคาสูงกว่าข้าวใหม่เสมอ
ท่านอาจจะเคยพบเห็นตามร้านหรือห้างสรรพสินค้า ว่ามีข้าว 5% 10% 15% หรือ 100% หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบการถึงการแบ่งข้าวตามลักษณะของเม็ดข้าวที่สีออกมาและถูกคัดตามขนาด ซึ่งแบ่งเป็น ข้าวต้นหรือข้าวเต็มเม็ด ก็คือข้าวเต็มเม็ดมีจมูกข้าวที่ถูกคัดออกมาในกระบวนการสีข้าว และข้าวหัก โดยปกติข้าวหักจะหมายถึง ยี่จ้อ สามส่วน ข้าวหัก และปลาย
กรมการข้าวได้แบ่งการอธิบายเม็ดข้าว ดังนี้
· ข้าว 100% คือ ข้าวที่บรรจุเฉพาะข้าวต้นเท่านั้น 100% ทางทฤษฎี
· ข้าว 5% คือ ข้าวที่บรรจุข้าวหักปน 5% (ที่เหลือเป็นข้าวต้น)
· ข้าว 10% คือ ข้าวที่บรรจุข้าวหักปน 10%
ราคาข้าวที่มีข้าวหักปนอยู่เยอะขึ้น ก็จะมีราคาถูกลงไปเรื่อยๆ ตามเปอร์เซ็นต์ของข้าวหัก
ท่านลูกค้ารู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 65 ล้านคนในปี 2557* จากสถิติแล้ว คนไทยทานข้าวเฉลี่ยประมาณ 101 กก./ปี แต่หากนับรวมที่นำข้าวไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นด้วย คนไทยจะบริโภคและใช้ประโยชน์จากข้าวถึง 11 ล้านตันต่อปี หรือประมาณ 30 ล้านกิโลกรัมต่อวันเลยทีเดียว นอกจากนั้น ข้าวยังสามารถเก็บไว้ได้นาน ไม่เน่าเสีย(หากเก็บถูกวิธี) บริโภคแล้วหมดไป ต้องซื้อซ้ำ และไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร คนไทยก็ยังทานข้าว และทานยิ่งมากขึ้นในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี เพราะข้าวทานแล้วอิ่มท้อง ทานข้าวบ่ายอยู่ได้ถึงเย็น
* ข้อมูลจากจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ
เริ่มจากการศึกษารายละเอียดของข้าวชนิดต่างๆ ว่ามีอะไรบ้าง มีลักษณะเป็นอย่างไร พื้นที่ที่เราต้องการขาย คนชอบข้าวประเภทไหนบ้าง มีโรงเรียน โรงแรม โรงงาน ร้านอาหารไหนที่ใช้ข้าวสารบ้าง แต่ที่สำคัญมากๆ เลยคือทำเล หากท่านลูกค้ามีทำเลที่ดี อยู่ในบริเวณชุมชน หรือท่านลูกค้าอาจจะมีสินค้าอย่างอื่นขายควบคู่กับไปด้วย ก็จะยิ่งส่งผลดีให้กับท่าน ทำให้ขายได้เร็วยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธในการขายของท่านลูกค้า ว่าจะขายปลีกหน้าร้าน หรือจะวิ่งส่งก็ได้ ก็ต้องคำนวณต้นทุนให้ดี
การขายข้าวสาร ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจและเงินลงทุนของท่านลูกค้า หากท่านมีทุนน้อยท่านอาจจะซื้อไปขายต่อเพียงบางชนิดก่อนเพื่อดูตลาด ซึ่งลงทุนเพียงแค่ไม่กี่พันบาทเท่านั้น โดยปกติ ถ้าท่านลูกค้าใช้วิธีเปิดถุงตักขายหน้าร้าน ท่านจะมีกำไรอยู่ประมาณกิโลละ 2-7 บาทขึ้นอยู่กับชนิดข้าวและคู่แข็งในบริเวณที่ท่านขาย แต่ถ้าหากท่านขายเป็นถุงหรือกระสอบ ก็อาจจะได้กระสอบละ 30-100 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับการบริหารของท่าน ทุกวันนี้ลูกค้าของเราเริ่มต้นจากสั่งเดือนละไม่กี่กระสอบ กลายเป็นสั่งเดือนละ 20-30 กระสอบแล้วก็มี
ท่านลูกค้าอาจจะต้องเข้าใจก่อนว่า ข้าวสารคือสินค้าเกษตร ซึ่งตัวสินค้าจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา คือจากข้าวใหม่เป็นข้าวเก่า พอครบปีก็จะมีผลผลิตล็อตใหม่ออกมาก็จะกลายเป็นข้าวใหม่อีก ทำให้คุณภาพของข้าวในแต่ละช่วงเวลานั้นไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะต้องอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจ แต่ทางเราก็มีสต็อกข้าวไว้มากพอ เพราะเรามีทั้งโรงสีของเราเอง และมีคู่ค้าพันธมิตรที่ไว้ใจได้ ทำให้เราสามารถควบคุมคุณภาพได้มากกว่าเจ้าอื่น ข้าวเก่าหรือข้าวใหม่ เราก็สามารถคงคุณภาพให้ได้คล้ายๆ เดิมทุกปี และที่สำคัญคือความจริงใจ ไม่หลอกลวง ใช้ข้าวแบบไหนแบบนั้น เราไม่นิยมผสมข้าวให้ท่านลูกค้า แต่เราสามารถบอกวิธีผสมท่านได้
ติดต่อ 044-258-485, 044-258-486